นายพิสิษฐ์ธัช ศุทธาวรเศรษฐ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
ปีการศึกษา 2567
แบบรายงานผลการปฎิบัติงาน
ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง /สัปดาห์ดังนี้
รายวิชาภาษาไทย 3 จำนวน 9 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาภาษาไทย 9 จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 2 ชั่วโมง /สัปดาห์ดังนี้
- กิจกรรมชุมนุมภาษาไทยในบทเพลง จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมสาธารณประโยชน์ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง /สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 9 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ภาพพจน์โดยใช้เพลง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ภาพพจน์โดยใช้เพลง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw)
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากการสอนในรายวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนขาดทักษะ
การคิดวิเคราะห์ภาพพจน์ในวรรณคดีไทย ซึ่งได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กับครูผู้สอนภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ปัญหาสำคัญที่พบกับนักเรียน
ในโรงเรียน นักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าวรรณคดีที่ยกมานั้นเป็นโวหารภาพพจน์ประเภทใด สอดคล้องกับผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565
ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดที่แสดงถึงความเข้าใจเนื้อหาของผู้เรียน
โดยข้อสอบจะเน้นการคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ ผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะศึกษา
และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ภาพพจน์โดยใช้เพลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสามารถทักษะ
ในการคิดวิเคราะห์ภาพพจน์ โดยใช้เพลงที่ผู้เรียนให้ความสนใจ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
จากการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้วิเคราะห์ในแบบทดสอบ และเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และพัฒนาความสามารถต่าง ๆ นำไปสู่
การเรียนรู้วิชาภาษาไทยอย่างยั่งยืน
เป้าหมายคุณภาพ
มีการจัดทำรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
- ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐาน การเรียนรู้ และตัวชี้วัด นำไป จัดทำหน่วยการเรียนรู้และ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทยให้สอดคล้องกับ หลักสูตรสถานศึกษาและ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2561)
- ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ และสร้าง แรงจูงใจในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติ
ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ท้องถิ่น และเหมาะกับผู้เรียน
- ข้าพเจ้าวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำหน่วยการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย ม.2 จำนวน 20 หน่วยการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะ ที่สำคัญ ตามหลักสูตร โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้อง กับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น
- ข้าพเจ้าวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
มีการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
เรียนรู้และทำงานร่วมกันโดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน
- ข้าพเจ้ามีการทำกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการเรียนรู้และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหา ในการจัดการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจตามบริบทของสถานศึกษา
สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรม
การเรียนรู้ผู้เรียนมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสื่อ นวัตกรรม
- ข้าพเจ้าได้พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เกมส่งเสริมการเรียนรู้ สื่อ PowerPoint คลิปวีดีโอการสอนเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น
- ข้าพเจ้าจัดทำชุดเอกสารประกอบการเรียน เป็นแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางด้านการใช้โวหารภาพพจน์ ให้มีสีสันสดใส มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
- ข้าพเจ้านำเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้มาใช้สร้างแหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ในรูปแบบของ Google classroom และ Google site
สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และหรือผลการเรียนรู้
- ข้าพเจ้ามีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ประเมินผลการเรียนรู้ ตามสภาพจริง และนำผลการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มาใช้แก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้
- ข้าพเจ้าสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีความหลากหลาย ประกอบด้วยแบบ ฝึกทักษะการวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ผ่านบทเพลง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล แบบประเมินผลตามสภาพจริง โดยวัดและประเมินการเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม การนำเสนอผลงานของผู้เรียน
ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อ
คุณภาพผู้เรียน
- ข้าพเจ้ามีการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผล ต่อคุณภาพผู้เรียน และนำผล การศึกษา วิเคราะห์ และ สังเคราะห์ มาใช้แก้ไขปัญหา หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้
- ข้าพเจ้าวิเคราะห์ผู้เรียนเป็น รายบุคคล และจัดกลุ่มนักเรียนให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้
- ข้าพเจ้าวางแผนพัฒนานักเรียนตาม ศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ข้าพเจ้ามีการจัดบรรยากาศที่เหมาะสม สอดคล้องกับความแตกต่างผู้เรียนเป็นรายบุคคล สามารถ แก้ไขปัญหา การเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
- ข้าพเจ้าจัดบรรยากาศห้องเรียนให้ได้มาตรฐานห้องเรียนคุณภาพ (Onsite) และจัดการเรียนการสอนแบบกระบวนการเรียนรู้ (Online) ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
มีการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม
- ข้าพเจ้าสอดแทรกกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมนำความรู้ พัฒนาลักษณะนิสัยให้มี ระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาพกายและ ใจแข็งแรง สามารถดำรงชีวิต ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนรายบุคคล และ สามารถแก้ไขปัญหาผู้เรียนได้
- ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น
1) การใส่บาตรในตอนเช้า
2) กิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสังคม
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
กระดานข้อมูลนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8
การทำประกาศแจ้งข่าวสาร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8
มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา เพื่อใช้ในการ
ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
กระดานบันทึกการบ้าน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
- ข้าพเจ้าจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชาโดยมีข้อมูลเป็นปัจจุบันเพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้แก้ไข ปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- ข้าพเจ้าผยแพร่ข้อมูลเพื่อเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ ผู้เรียน/ ผู้ปกครอง
1. ผลการประเมิน ปพ.5
2. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคลและประสาน
ความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน
- ข้าพเจ้าดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียนแต่ละคนผ่านระบบออนไลน์ ด้วย Google form และสรุปเป็นสารสนเทศในรูปแบบของแผนภูมิวงกลม
- ดำเนินกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน
- การประเมิน SDQ นักเรียน
- จัดกิจกรรมโฮมรูมนักเรียนทุกวัน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักเรียน และแจ้งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญให้กับนักเรียนทราบ
- จัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองในรูปแบบออนไลน์ และมีกลุ่มไลน์สำหรับแจ้งข้อมูลข่าวสารของทางโรงเรียนให้กับผู้ปกครอง
- จัดทำข้อมูลการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือผู้เรียนด้านการเรียน ด้านความประพฤติ ด้านทุนการศึกษาและด้านอื่น ๆ ตามที่สถานศึกษามอบหมาย
2.3 ปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา
- ข้าพเจ้าร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เช่น เป็นครูแกนนำเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการประเมินระดัยนานานชาติ (PISA)
- ข้าพเจ้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
- ข้าพเจ้าร่วมกิจกรรมการจัดทำ SAR
- ข้าพเจ้าปฏิบัติงานเป็นคณะกรรมการงานประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายในโรงเรียนเพื่อให้บุคคลภายนอกทราบข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ
2.4 ประสานความร่วมมือ
ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ
- ข้าพเจ้าประสานความร่วมมือกับ ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
- ข้าพเจ้าร่วมกิจกรรมประชุม ผู้ปกครอง 1 ครั้ง/ภาคเรียน
- ข้าพเจ้าจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย
1) จัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้งเพื่อติดตามแก้ไขปัญหา
ช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2) มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกภาคเรียน เพื่อติดตามแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
3.1 พัฒนาตนเอง
อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- ข้าพเจ้าได้พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยการอบรมพัฒนาเองและวิชาชีพเกี่ยวกับความรู้ทางภาษาไทยเพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน
- ข้าพเจ้าอบรมพัฒนาเองเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา เช่น การใช้โปรแกรม Quizizz / Google Form สร้างแบบทดสอบออนไลน์/Canva / เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอน ใบกิจกรรม ใบความรู้ โปสเตอร์ สไลด์ในการนำเสนอ เป็นต้น
- ข้าพเจ้าศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู จากเว็บไซต์คุรุสภา หรือหน่วยงานทางการศึกษา และเผยแพร่ตัวอย่างผลงานที่ได้จากการพัฒนาให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้และครูต่างโรงเรียนได้นำไปเป็นแนวทาง และเผยแพร่ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ผ่านกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพม. กท. 2
พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
3.2 มีส่วนร่วมในการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
- ข้าพเจ้ามีส่วนในการเป็นผู้นำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สาขาวิชาภาษาไทย ในการส่งเสริมการจัดกรรมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้กับนักเรียน และสร้างกลุ่มในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านกิจกรรมนิเทศ การจัดการเรียนรู้ และนำผลจากการประชุม PLC ไปสร้างเป็นสื่อ นวัตกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือ แก้ไขนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
- ข้าพเจ้าเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผ่าน กิจกรรมนิเทศและสังเกตการสอน
นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ส่วนที่ 2
ประเด็นท้าทาย
การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ภาพพจน์
โดยใช้เพลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw)
ส่วนที่ 2
ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ส่วนที่ 2
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ ในเรื่องของมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของเนื้อหารายวิชา ภาษาไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ภาพพจน์ และรูปแบบการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw) เพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนรู้
2.3 นำผลการเรียนรู้และเนื้อหามาสร้างเป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw) เพื่อให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วย หน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
2.4 หาคุณภาพของหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ โดยให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยพิจารณาประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยพิจารณาจากความเหมาะสมภาษาและเวลาที่ใช้ในการเรียนพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไข
ส่วนที่ 2
ส่วนที่ 2
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
3.1 เชิงปริมาณ
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในรายวิชาภาษาไทย ร้อยละ 70 มีการพัฒนาความสามารถในทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยสูงขึ้น
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในรายวิชาภาษาไทย นักเรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการเรียนเรื่อง ภาพพจน์ในวรรณคดี โดยใช้รูปแบบการสอนโดยใช้เพลงร่วมกับรูปแบบการสอนแบบจิ๊กซอร์
3.2 เชิงคุณภาพ
- นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่พบหรือเผชิญอยู่ โดยนำความรู้ทางวิชาภาษาไทยมาใช้อย่างเหมาะสม มีการใช้หลักเหตุและผล โดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นต่อตนเองและสังคม
- มีความรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดรายวิชาภาษาไทย และมีสมรรถนะหลักของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน